รู้จักการ นำเข้า-ส่งออก สินค้าระหว่างประเทศ
การนำเข้า (Import)
การนำเข้า (Import) คือ การนำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศ เพื่อเข้าในประเทศ โดยสินค้าที่นำเข้า ส่วนใหญ่จะสินค้าที่มีต้นทุนถูก เป็นสินค้าที่ไม่มีในประเทศ หรือผลิตในประเทศไม่ได้ ซึ่งจะขนส่งผ่านกันมาทางเรือ ทางเครื่องบิน มักจะส่งตรงมาจากโรงงานเลย เพราะต้นทุนของสินค้าจะถูกลงกว่าตลาดทั่วไปในการนำเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าได้หนดไว้ให้ครบถ้วน รวมถึงจัดเตรียมเอกสาร และศึกษาขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า
ในการนำเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่กรมศุลกากรและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าได้หนดไว้ให้ครบถ้วน รวมถึงจัดเตรียมเอกสาร และศึกษาขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้า
เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการนำเข้าสินค้า
ใบขนสินค้าขาเข้า (Import Declaration)
ใบตราส่งสินค้าทางเรือ (B/L-Bill of Lading), ทางอากาศ (AWB-Air Way Bill)
บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (ถ้ามี) (Import License)
ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (กรณีขอลดอัตราอากร) (Certificates of Origin)
เอกสารอื่น ๆ เช่น แคตตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม ฯลฯ
การส่งออก (Export)
การส่งออก (Export) คือ การจัดส่งสินค้า หรือขายสินค้าภายในประเทศ ไปสู่ประเทศอื่น จากต้นทางไปยังปลายทาง ในทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ เป็นต้น
ในการส่งออกจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับข้อง คือ กรมศุลกากร เพราะในการส่งออกสินค้าแต่ละครั้งต้องผ่านพิธีการศุลกากร โดยสามารถทำได้ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะส่งข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามกฎหมาย และข้อกำหนดของศุลกากรกำหนดไว้ เพื่อดำเนินการต่อให้สินค้าสามารถที่จะส่งออกได้
เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการส่งออกสินค้า
ขนสินค้าขาออก (Export Declaration)
บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก (ถ้ามี) (Export License)
ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ถ้ามี) (Certificates of Origin)
เอกสารอื่น ๆ เช่น แคตตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม ฯลฯ
การนำเข้า-ส่งออกสินค้า จะมีการเก็บ ภาษีศุลกากร (Customs Duty) คือ ภาษีที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้า หรือส่งออกไปต่างประเทศ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากร และกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร
ภาษีศุลกากรจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อากรขาเข้า และ อากรขาออก โดยมี กรมศุลกากร เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการจัดเก็บ
อากรขาเข้า คือ การเก็บภาษีจากสินค้าที่นำมาให้ หรือบริโภคในราชอาณาจักร ซึ่งการคำนวณค่าภาษีจะคำควณตามสภาพสินค้า ราคา และพิกัดของอัตราศุลกากร
อากรขาออก คือ การเสียภาษีหรือจ่ายค่าธรรมเนียมก่อนที่จะนำสินค้าออกจากนอกประเทศ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โดย ตัวแทนออกของศุลกากร เพื่อที่จะสามารถส่งสินค้าไปต่างประเทศได้ ซึ่งกรมศุลกากรมีการกำหนดให้สินค้าว่าออก
ที่มา: blog.giztix